แบบบันทึกอนุทิน
เรื่อง นักศึกษานำเสนอพัฒนาการภาษาของเด็กปฐมวัยของแต่ละช่วงวัย"
นำเสนองาน
การฟัง
อายุ 2 ขวบ ชอบฟังเพลงกล่อมเด็กวัยนี้ชอบคำซ้ำและเลียนแบบเสียง
อายุ 3 ขวบ สามารถเข้าใจภาษาพูดง่ายๆของผู้ใหญ่ อายุ 4 ขวบ ฟังเรื่องได้นานขึ้น เริ่มตีความหมายเรื่องที่ฟัง ชอบฟังเรื่องซ้ำๆและสามารถจำแนกความแตกต่างของเสียงได้ อายุ 5 ขวบ ชอบฟังนิทาน เพลง เล่นภาษา เช่น คำคล้องจอง สามารถเข้าใจคำพูดข้อความยาวๆ ได้ ความเข้าใจทำให้เด็กวัยนี้พูดเก่งและจำแม่น
อายุ 6 ขวบ ฟังเรื่องราวต่างๆและเข้าใจถ้าไม่ซับซ้อนเกินไป
อายุ 3 ขวบ สามารถเข้าใจภาษาพูดง่ายๆของผู้ใหญ่ อายุ 4 ขวบ ฟังเรื่องได้นานขึ้น เริ่มตีความหมายเรื่องที่ฟัง ชอบฟังเรื่องซ้ำๆและสามารถจำแนกความแตกต่างของเสียงได้ อายุ 5 ขวบ ชอบฟังนิทาน เพลง เล่นภาษา เช่น คำคล้องจอง สามารถเข้าใจคำพูดข้อความยาวๆ ได้ ความเข้าใจทำให้เด็กวัยนี้พูดเก่งและจำแม่น
อายุ 6 ขวบ ฟังเรื่องราวต่างๆและเข้าใจถ้าไม่ซับซ้อนเกินไป
การพูด
เด็กอนุบาล 1 พูดติดอ่าง ย้ำคำพูดตัวเอง
เด็กอนุบาล 2 พูดเป็นประโยคสั้นๆ
เด็กอนุบาล 3 ประโยคเริ่มสมบูรณ์
การอ่าน
อายุ 3-4 ปี สนใจเสียงต่างๆของภาษาโดยเฉพาะ "คำคล้องจอง" ที่มีในเพลง สามารถบอกตัว อักษรได้ 10 ตัว
อายุ 4-5 ปี สามารถแยกพยางค์ในคำที่ฟังได้ เริ่มแยกหน่วยเสียงย่อยในคำที่ฟังได้
อายุ 5-5 ½ ปี สามารถเปรียบเทียบคำสองคำที่ฟังว่าคล้องจองกันหรือไม่ (เช่น กา-ขา, cat- bat) บอกคำที่มีเสียงคล้องจองกับคำที่ฟังได้
การเขียน
ขั้นที่ 1 ขีดเขี่ย (อายุ 2-3 ขวบ) เด็กจับดินสอขีดเขียนเส้นต่างๆ สะเปะสะปะ ไร้ทิศทาง โดยที่ตา ไม่ได้มองมือ หรือกระดาษที่ตนเองเขียน
ขั้นที่ 2 ควบคุมการขีดเขี่ย (อายุ 3 ขวบ) เด็กเริ่มควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือตนเอง ได้ และเขียนอย่างมีทิศทางมากขึ้น
ขั้นที่ 3 เขียนซ้ำตัวอักษร (อายุ 3-4 ขวบ) เด็กในวัยนี้ชอบเขียนตามจุดปะ หรือลากเส้นทับคำที่ อยากเขียนมากแต่ยังบิดเบี้ยว โย้เย้ ไม่เป็นระเบียบ
ขั้นที่ 4 สามารถเขียนชื่อตนเอง ( อายุ 4 ขวบ) เด็กสามารถลอกคำต่างๆ ได้ และพยายามที่จะ เขียนคำที่ชอบเอง
ขั้นที่ 5 คิดเขียนคำ (อายุ 4-5 ขวบ) เมื่อเด็กได้ฟังคำอะไร เด็กจะชอบเอาคำนั้นมาคิดและเขียน แต่มักจะสะกดไม่ถูกต้อง
ขั้นที่ 6 เขียนอย่างถูกต้อง (อายุ 5-7 ขวบ) เด็กสามารถเขียนคำต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว และ ถูกต้องมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น